คู่รัก LGBTQ กู้ร่วมซื้อบ้านได้?
บ้านเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าใครก็อยากจะซื้อบ้านเป็นทรัพย์สินของตัวเองทั้งนั้น กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ ก็มีสิทธิ์และความต้องการครอบครองบ้านไม่ต่างจากจากเพศชายหรือเพศหญิง ซึ่งหากเป็นการกู้ซื้อด้วยตัวเองคนเดียวแล้ว ลูกค้ากลุ่ม LGBTQ ก็สามารถขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้ไม่ต่างกัน โดยที่ธนาคารไม่ได้ประเมินความเสี่ยงของผู้กู้ LGBTQ ไว้สูงกว่าแต่อย่างใด
แต่หากเป็นการกู้ร่วม ที่ผ่านมาปัญหาที่ทำให้คู่รัก LGBTQ ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในฐานะผู้กู้ร่วมกันได้ ก็คือข้อจำกัดที่ว่า ผู้กู้ร่วมจะต้องเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ร่วมเชื้อสายเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเป็นชายหญิงที่เป็นคู่สมรสกัน ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ แต่กลุ่ม LGBTQ นั้นไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อได้
แต่ในปัจจุบัน มีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้แล้ว โดยแต่ละธนาคารกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้สินเชื่อแตกต่างกัน และการพิจารณาสินเชื่อขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ตามรายละเอียดดังนี้ครับ
1. ธนาคารกสิกรไทย ปรับเกณฑ์ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกรณีกู้ร่วม โดยคู่รักไม่จำกัดเพศที่ประสงค์จะขอสินเชื่อบ้านร่วมกัน จะต้องระบุในใบสมัครบริการสินเชื่อบ้านให้ชัดเจนว่า ผู้กู้ร่วมมีความสัมพันธ์เป็น"คู่รัก"กับผู้กู้หลัก และต้องเซ็นเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน คุณสมบัติคือ
ในปัจจุบันสังคมไทยได้เปิดใจยอมรับการมีตัวตนของเพศทางเลือกมากขึ้น คาดว่าธนาคารที่ยินยอมให้คู่รัก LGBTQ สามารถกู้ร่วมกันได้ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต สุดท้ายนี้ ซีมายโฮมขอเป็นกำลังใจให้คู่รัก LGBTQ ที่อยากลงหลักปักฐานซื้อบ้านสร้างครอบครัวด้วยกัน ประสบความสำเร็จกับสิ่งที่หวังไว้ด้วยครับ
จากใจ
ZmyHome
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจด้วยนะครับ
ผู้เขียน : จเร ZmyHome
อ่านเพิ่มเติม : กู้ร่วม มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร?
แต่หากเป็นการกู้ร่วม ที่ผ่านมาปัญหาที่ทำให้คู่รัก LGBTQ ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในฐานะผู้กู้ร่วมกันได้ ก็คือข้อจำกัดที่ว่า ผู้กู้ร่วมจะต้องเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ร่วมเชื้อสายเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเป็นชายหญิงที่เป็นคู่สมรสกัน ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ แต่กลุ่ม LGBTQ นั้นไม่สามารถจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อได้
แต่ในปัจจุบัน มีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้แล้ว โดยแต่ละธนาคารกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้สินเชื่อแตกต่างกัน และการพิจารณาสินเชื่อขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ตามรายละเอียดดังนี้ครับ
1. ธนาคารกสิกรไทย ปรับเกณฑ์ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกรณีกู้ร่วม โดยคู่รักไม่จำกัดเพศที่ประสงค์จะขอสินเชื่อบ้านร่วมกัน จะต้องระบุในใบสมัครบริการสินเชื่อบ้านให้ชัดเจนว่า ผู้กู้ร่วมมีความสัมพันธ์เป็น"คู่รัก"กับผู้กู้หลัก และต้องเซ็นเอกสารรับรองการอยู่ร่วมกัน คุณสมบัติคือ
- ต้องเป็นสัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 70 ปี
- ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม ต้องมีรายได้ 15,000 ต่อเดือนขึ้นไป ผู้กู้ร่วมได้ไม่เกิน 3 คน และต้องเป็นเครือญาติตามกฎหมาย (ยกเว้นคู่สมรสไม่จดทะเบียน)
- ผู้กู้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน
- ขอสินเชื่อได้สูงสุด 90-95% ของมูลค่าทรัพย์สิน เช่นเดียวกับผู้ขอสินเชื่อกรณีอื่น
- อายุ 20 ปีขึ้นไป อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปี (กรณีกู้ร่วม ให้พิจารณาจากผู้กู้ที่มีอายุน้อยที่สุดเป็นเกณฑ์)
- มีอาชีพการงานที่มั่นคง มีรายได้แน่นอน และต้องสูงกว่าอัตราผ่อนชำระในแต่ละงวดประมาณ 3 เท่า
- ผู้กู้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน
- ขอสินเชื่อได้สูงสุด 90% ของมูลค่าทรัพย์สิน
- บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย อายุ 30 ปีขึ้นไป อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ไม่เกิน 65 ปี ระยะเวลาการกู้สูงสุด 30 ปี
- พนักงานประจำ อายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป (งานปัจจุบันต้องผ่านการทดลองงานแล้ว) ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ประกอบธุรกิจมาแล้ว ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
- ผู้กู้หลักต้องมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
- ผู้กู้ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ตามที่ธนาคารกำหนด เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน เป็นต้น
- ผู้กู้และผู้กู้ร่วมต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกันร่วมกัน
- ขอสินเชื่อได้สูงสุด 100% ของมูลค่าทรัพย์สิน เช่นเดียวกับผู้ขอสินเชื่อกรณีอื่น
- เป็นผู้ฝากเงินประเภทเผื่อเรียกของธนาคาร
- มีอายุครบ 20 ปีขึ้นไป และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 65 ปี ยกเว้น เจ้าของกิจการที่สามารถพิสูจน์รายได้ที่แน่นอน เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ทั้งนี้ ในกรณีที่กู้ร่วมกับบุคคลอื่นให้นับระยะเวลาชำระเงินกู้ตามอายุของผู้กู้ที่มีอายุน้อยที่สุดเพียงคนเดียว
- มีอาชีพและรายได้แน่นอน ไม่กำหนดรายได้ขั้นต่ำ แต่ระบุว่าภาระหนี้ต้องไม่สูงกว่า 60% ของรายได้
- การกู้ร่วมกับบุคคลอื่นที่นอกเหนือจากความสัมพันธ์เป็นคู่สมรส บุตร บิดา มารดา หรือ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ต้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมในหลักประกันทุกคน
- กรณีกู้ซื้อบ้านใหม่ ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 90-95 ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินหลักทรัพย์ แล้วแต่ราคาใดที่ต่ำกว่า
- บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย อายุขั้นต่ำ 21 ปี
- รวมระยะเวลากู้ ไม่เกิน 70 ปี สำหรับผู้กู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนประจำทั่วไป และ หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ (Government Sector) หรือไม่เกิน 75 ปี สำหรับเจ้าของกิจการ (Self-employed)
- รายได้ขั้นต่ำ 20,000 บาท
- อายุการทำงานอย่างน้อย 2 ปี (หรือ 3 ปี สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ/ธุรกิจส่วนตัว)
- ผู้กู้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน
- จะต้องมีผู้กู้ร่วมฝ่ายหนึ่งซึ่งธนาคารประเมินว่าสามารถกู้บ้านหลังนี้ได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว และผู้กู้ร่วมอีกคนที่เหลือก็ต้องมีความสามารถในการผ่อนชำระในฐานะผู้กู้ร่วมด้วย
- ธนาคารอาจพิจารณาให้วงเงินกู้ต่ำกว่ากรณีการกู้ร่วมในคู่สมรสเพศชาย-หญิง
- บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย อายุ 21-60 ปี (พนักงานประจำอายุสูงสุดไม่เกิน 55 ปี, เจ้าของกิจการอายุสูงสุดไม่เกิน 60 ปี)
- ผ่อนชำระนานสูงสุด 30 ปี (ระยะเวลาการผ่อนชำระเมื่อรวมกับอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 70 ปี)
- พนักงานประจำ อายุงานปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 1 ปี ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ประกอบธุรกิจมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี
- ผู้กู้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกัน
- จะต้องมีผู้กู้ร่วมฝ่ายหนึ่งซึ่งธนาคารประเมินว่าสามารถกู้บ้านหลังนี้ได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว และผู้กู้ร่วมอีกคนที่เหลือก็ต้องมีความสามารถในการผ่อนชำระในฐานะผู้กู้ร่วมด้วย
- วงเงินสินเชื่อบ้านสูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักประกัน ขั้นต่ำ 700,000 บาท
- รับหลักประกันเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และนครปฐม
ในปัจจุบันสังคมไทยได้เปิดใจยอมรับการมีตัวตนของเพศทางเลือกมากขึ้น คาดว่าธนาคารที่ยินยอมให้คู่รัก LGBTQ สามารถกู้ร่วมกันได้ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต สุดท้ายนี้ ซีมายโฮมขอเป็นกำลังใจให้คู่รัก LGBTQ ที่อยากลงหลักปักฐานซื้อบ้านสร้างครอบครัวด้วยกัน ประสบความสำเร็จกับสิ่งที่หวังไว้ด้วยครับ
จากใจ
ZmyHome
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจด้วยนะครับ
ผู้เขียน : จเร ZmyHome
อ่านเพิ่มเติม : กู้ร่วม มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร?