วันมหิดล 24 กันยายน วันระลึกถึง“พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน”
“วันมหิดล” ตรงกับวันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ พันเอก(พิเศษ) จอมพลเรือ นายแพทย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ” ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และทรงเป็นพระราชอัยกาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสำเร็จการศึกษาด้านการทหารและการแพทย์ ตลอดพระชนมชีพของพระองค์ ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจเพื่อประเทศชาติและประชาชน โดยเฉพาะด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ทรงเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์ ทรงช่วยเหลือในการขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช ประทานเงินส่วนพระองค์จัดสร้างตึกคนไข้ จัดหาที่พักสำหรับพยาบาลได้อาศัย ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นทุนไว้สำหรับส่งนักศึกษาแพทย์และนักเรียนพยาบาลออกไปศึกษาต่อต่างประเทศ ประทานเงินจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับปฏิบัติการในโรงพยาบาล ทรงเป็นผู้แทนติดต่อกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ให้ดำเนินการช่วยเหลือการแพทย์และพยาบาลไทย โดยปรับปรุงการศึกษาและวางมาตรฐานจนสามารถรับรองกิจการแพทย์ของประเทศได้ดังปัจจุบัน ฯลฯ
จากพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุข ของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 12 ปี ได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ และมีการพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ บรรดาผู้ที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณจึงได้พร้อมใจกันเฉลิมพระเกียรติพระองค์ให้เป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย”
ต่อมาทางคณะแพทยศาสตร์ และศิริราชพยาบาล ก็มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ให้ยึดเอาวันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันน้อมระลึกถึงพระองค์โดยให้ชื่อว่า “วันมหิดล” และจัดงานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2494 และเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 อันเป็นวันครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ องค์การยูเนสโกก็ได้ประกาศยกย่อง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก
ในปัจจุบัน มีสถาบันด้านการศึกษาและด้านการสาธารณสุข ที่ได้รับพระราชทานพระนามาภิไธยมาตั้งเป็นชื่อสถาบัน เช่น
ผู้เขียน : จเร ZmyHome
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสำเร็จการศึกษาด้านการทหารและการแพทย์ ตลอดพระชนมชีพของพระองค์ ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจเพื่อประเทศชาติและประชาชน โดยเฉพาะด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ทรงเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์ ทรงช่วยเหลือในการขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช ประทานเงินส่วนพระองค์จัดสร้างตึกคนไข้ จัดหาที่พักสำหรับพยาบาลได้อาศัย ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นทุนไว้สำหรับส่งนักศึกษาแพทย์และนักเรียนพยาบาลออกไปศึกษาต่อต่างประเทศ ประทานเงินจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับปฏิบัติการในโรงพยาบาล ทรงเป็นผู้แทนติดต่อกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ให้ดำเนินการช่วยเหลือการแพทย์และพยาบาลไทย โดยปรับปรุงการศึกษาและวางมาตรฐานจนสามารถรับรองกิจการแพทย์ของประเทศได้ดังปัจจุบัน ฯลฯ
จากพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุข ของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 12 ปี ได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ และมีการพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ บรรดาผู้ที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณจึงได้พร้อมใจกันเฉลิมพระเกียรติพระองค์ให้เป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย”
ต่อมาทางคณะแพทยศาสตร์ และศิริราชพยาบาล ก็มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ให้ยึดเอาวันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันน้อมระลึกถึงพระองค์โดยให้ชื่อว่า “วันมหิดล” และจัดงานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2494 และเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 อันเป็นวันครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ องค์การยูเนสโกก็ได้ประกาศยกย่อง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก
ในปัจจุบัน มีสถาบันด้านการศึกษาและด้านการสาธารณสุข ที่ได้รับพระราชทานพระนามาภิไธยมาตั้งเป็นชื่อสถาบัน เช่น
- สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
- มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นศูนย์กลาง และมีอีก 3 วิทยาเขต ได้แก่
- มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
- มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
- วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นศูนย์กลางและวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุด และมีอีก 4 วิทยาเขต ได้แก่
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นวิทยาเขตแห่งแรก
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
- โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
- โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ สุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้เขียน : จเร ZmyHome