• 8 ต.ค. 2561

บริษัทพัฒนาเมืองระยอง เล็งดึงงบกองทุนน้ำมัน พันกว่าล้าน พัฒนาระบบขนส่งมวลชนรับอีอีซี

          เทศบาลเมืองระยอง ร่วมมือกรมโยธาธิการ และผังเมืองจังหวัด บริษัทพัฒนาเมืองระยอง เล็งดึงงบกองทุนน้ำมัน พันกว่าล้านสนับสนุน การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรับอีอีซี พร้อมเดินหน้าปั้นแลนด์ลอร์ด 3 แปลงรวมพื้นที่กว่า 16 ไร่ ผุดมิกซ์ยูสศูนย์เศรษฐกิจแลนด์มาร์คใจกลางเมือง คาดลงทุนกว่า 2 หมื่นล้านรูปแบบพีพีพี

          นายฉัตรนุชัย สมบัติศรี รองปลัดเทศบาลนครระยอง เปิดเผยว่า ได้มีการหารือของคณะผู้ช่วยการวางแผนชุมชนเมือง CPAT ระยอง พร้อมด้วย ผศ.ดร.ธนภณ พันธเสน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายอภิชาติ โมฬชาติ ผู้แทนสำนักงานโยธาธิการ และผังเมือง ตลอดจนสำนักการช่างพร้อมทีมออกแบบของเทศบาลนครระยอง ผู้แทนบริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด ผู้แทนจากสำนักงาน พาณิชย์จังหวัด สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานขนส่งจังหวัด หอการค้า และผู้แทนภาคส่วนที่เข้าร่วม เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาระบบ ขนส่งมวลชนและพัฒนาเมืองระยอง
 

ผลการหารือได้ความเห็นตรงกัน 2 ประเด็น คือ 

          1) การศึกษาเชิงลึกปริมาณผู้เดินทางจากศูนย์เศรษฐกิจต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์เบื้องต้นหาความคุ้มค่าการลงทุน (ใช้ข้อมูลการศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) พร้อมการจัดทำข้อเสนอการใช้สิทธิประโยชน์จากกองทุนต่างๆ ของจังหวัดสนับสนุนการดำเนินกิจการขนส่งมวลชน ซึ่ง CPAT ระยองเป็นผู้รับผิดชอบ

          2) การออกแบบแนวคิดการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ที่ดินราชพัสดุที่อยู่ในความดูแลของเทศบาลนครระยอง และอบจ.ระยอง จำนวน 3 แปลง เพื่อจัดทำโครงการมิกซ์ยูส และอาคารจอดรถจำนวน 2 อาคาร
"เบื้องต้นนั้นอาจกำหนดโมเดลการตั้งบริษัทขึ้นมา ดำเนินการจากการร่วมลงทุนหลายฝ่าย ทั้ง ปตท. เอสซีจี และซีพีล้วนลงขัน ได้ทั้งสิ้น ทุนท้องถิ่น และประชาชนที่สนใจก็สามารถเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งแผนการพัฒนา รูปแบบนี้จะเกิดขึ้นในระยองในเร็วๆ นี้ เทศบาล จึงต้องออกมาขับเคลื่อนและ อบจ.คงต้องเข้ามานำทีมการพัฒนาเพราะผ่านพื้นที่ของเทศบาลต่างๆ"

          มีทั้งผู้รับสัมปทานเดิม เทศบาลแต่ละพื้นที่ นักลงทุน ประชาชน โดยบริษัทระยองพัฒนาเมือง ต้องการให้ดึงบริษัทรีเจียนนอลทรานซิท โคเปอร์เรชั่น จำกัด หรือ RTC เข้ามาบริหารจัดการ เดินรถ หรืออาจดึงงบประมาณสนับสนุนโครงการ มาจากหลายหน่วยในพื้นที่ มาพัฒนา ระบบขนส่งมวลชนให้เกิดความยั่งยืน
 

          เมืองระยอง เป็นเมืองอยู่ติดทะเลมีพื้นที่เกษตรที่อุดมสมบูรณ์ มีอุตสหกรรมเกิดขึ้นมามากมาย จนการเจริญเติบโตของเมืองระยอง ที่เร็วมีประชากรเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ระยองจึงต้องเร่งพัฒนาเมืองเพื่อรองรับต่อความต้องการ และแก้ปัญหาเดิม เช่นมลภาวะ การจราจรที่ถูกมองข้ามไป จึงได้ถือกำเนิดหน่วยงานเอกชนหนึ่งขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนา เปลี่ยนกลยุทธ์เมืองใหม่  คือ ระยองพัฒนาเมือง ระยองพัฒนาเมืองนั้นคืออะไร EEC เกี่ยวข้องอย่างไร TOD ที่จะนำเข้ามาเพื่อรองรับอะไร เกิดปัญหาอะไรขึ้นถึงได้มีการพัฒนาแก้ไขกลยุทธ์เมืองใหม่ และ การพัฒนานี้จะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อประชาชนเมืองระยองอย่างไร

           ที่รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำหนดขึ้นในการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเดิม ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม “อีอีซี” จึงเป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ในการต่อยอดจากโครงการ พัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) เดิมเพื่อการรองรับกับ10 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีระดับสูง ที่จะเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ให้เติบโตต่อไปได้ท่ามกลางกระแสการค้า และการลงทุนของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

          อย่างไรก็ดี ยังต้องมีการหารือในวงใหญ่ อีกหลายครั้ง โดยเฉพาะเรื่องเส้นทาง และความคุ้มค่าการลงทุน ในเบื้องต้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาไว้อย่างครอบคลุมในหลายระบบจึงต้องเอามาปรับใช้ให้เหมาะสมต่อไป แนวคิดให้ RTC ดำเนินการเนื่องจากใช้งบลงทุนน้อยจึงมีความเป็นไปได้มากกว่า

          ทั้งนี้ การนำเอาที่ดินไปพัฒนาให้เกิดมูลค่า เพิ่มมาชดเชยการลงทุนนั้นยังเป็นความเห็น ส่วนหนึ่งของการหารือ โดยแปลงต่างๆ มีศักยภาพสูงสำหรับการพัฒนา เชิงพาณิชย์ได้ทั้งสิ้น ติดถนนเมนหลักถนนสุขุมวิท ให้เป็นย่านธุรกิจใจกลางเมืองหรือ CBD ในพื้นที่ใจกลางเมืองระยอง โดยอาจแยกกันดำเนินการแต่ให้เชื่อมโยงกัน

          เทศบาลนำไปวางแผนขับเคลื่อนในเบื้องต้น ในการหารือร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งกรมธนารักษ์ อบจ. ฯลฯ ว่าเห็นด้วยหรือไม่ จะเกิดประโยชน์กับประชาชน และเมืองอย่างไรบ้าง เมื่อได้ข้อมูลวิจัยจากสกว.และจากสมาคมการผังเมืองไทยเรียบร้อยแล้วจะเร่งขับเคลื่อนต่อไป

เร่งผุดศูนย์เศรษฐกิจ 2 หมื่นล้าน
 

          ด้านนายวรวิทย์ ศุภโชคชัย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครระยอง กล่าวว่า แนวคิดต้องการบริหารจัดการเมืองระยองให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ปัจจุบันเมืองกระจายความเจริญออกไปสู่พื้นที่รอบนอก  ส่วนโซนเมืองเก่าบรรยากาศซบเซาลงไป ไม่คึกคักดังเช่นอดีตที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่สามารถพัฒนาได้อีกมากมาย โดยมีแผนนำที่ดินทำเลย่านเทพบันเทิง 8 ไร่ ที่ดินโซนเขตเมืองเก่าฝั่งตรงข้ามเทพบันเทิงขนาด 4 ไร่ และที่ดินสถานีขนส่งแห่งที่ 1 อีกประมาณ 4 ไร่นำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ให้เป็นศูนย์เศรษฐกิจขนาดใหญ่ ขณะนี้บริษัทระยองพัฒนาเมืองร่วมกับ สมาคมการผังเมืองไทยอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด คาดว่า จะลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

          พื้นที่อยู่อาศัยผังเมืองสีแดงสามารถสร้างสูง 20-30 ชั้น จึงจะมีความคุ้มค่า โดยเป็นที่ดินของเทศบาลทั้ง 3 แห่ง อยู่ระหว่าง สกว.ศึกษาว่าจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ใช้รูปแบบการลงทุนอย่างไร เบื้องต้น นั้นบริษัทระยอพัฒนาเมืองพร้อมเป็นผู้นำการลงทุน ส่วนกลุ่มบีทีเอสและปตท.ลงพื้นที่ มาสำรวจ คาดว่าสนใจการลงทุนระดับประเทศ มากกว่าซึ่งคนที่อยู่อาศัยเดิม จะต้องได้ประโยชน์จากการพัฒนาในครั้งนี้ด้วย โซนเทพบันเทิงปัจจุบันเปิดบริการตลาดโต้รุ่ง ดังนั้นระหว่างก่อสร้างจึงจะมีการหารือกันว่าจะย้ายไปอยู่ในจุดไหนก่อน"
 

          จ.ระยองยังได้รับคัดเลือกจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ให้เป็น 1 ใน 6 จังหวัด ที่ได้รับงบประมาณไปทำการวิจัยด้านการพัฒนาเมือง ดังนั้นแนวทางการขับเคลื่อนแผนการ พัฒนาระบบขนส่งมวลชนต่อจากนี้ ไปจะเริ่มจากระบบรถสมาร์ทบัสไปก่อนจนกว่าจะเต็มพิกัด แล้วจึงค่อยยกระดับไปสู่ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่อย่างรถไฟฟ้ารางเบา ขณะนี้ภาคเอกชนสนใจจะดำเนินการนำร่องไปก่อน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (อบจ.ระยอง) และเทศบาลในพื้นที่พร้อมสนับสนุน

          เช่นเดียวกับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ในจุดที่เป็นศูนย์เศรษฐกิจจะพัฒนา รูปแบบแนวสูงมากขึ้น โดยเฉพาะรูปแบบ ผสมผสานหรือมิกซ์ยูสให้โซนพื้นที่ ด้านล่างเป็นค้าปลีก ส่วนด้านบนเป็นโรงแรมเนื่องจากเป็นพื้นที่ตามผังเมืองกำหนด ให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย

เล็งร่วมทุนรูปแบบพีพีพี
          โดยพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจระยองที่ดิน 3 แปลงรวมกันประมาณ 16 ไร่ ค่าก่อสร้างประมาณ 2 หมื่นล้านบาท นั้นนายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย  คาดว่าเทศบาลฯ และ อบจ.จะเปิดให้ร่วมทุน รูปแบบพีพีพีนำร่องการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด โดยความร่วมมือครั้งนี้ มีมาจากหลายฝ่าย เมื่อออกแบบแล้วเสร็จคาดว่าเตรียมเสนอคณะกรรมการอีอีซี เห็นชอบเร่งผลักดัน

          โดยเฉพาะที่ดิน 3 แปลงที่เทศบาลดูแลจะนำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ สมาคมการผัง เมืองไทยออกแบบแนวคิดให้ทั้งหมด แล้วจะ ปรึกษาคณะกรรมการอีอีซีเพื่อดำเนินการ ตามขั้นตอนระเบียบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(พีพีพี) ขณะนี้บริษัทระยองพัฒนาเมืองพร้อมร่วมลงทุนได้ทันที

          ส่วนระบบขนส่งมวลชนนั้นจะให้ CPAT ศึกษาเชิงลึกต่อยอดจากที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินการแล้วส่งต่อให้ RTC ภายในต้นปีหน้า เบื้องต้นจะทดลองให้บริการในเส้นทางการศึกษาได้ภายในเร็วๆ นี้

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ( 08 October 2018 )
ที่มา : http://www.reic.or.th/news/News_Detail.aspx?newsid=57551

ติดตามข่าวสาร บ้าน คอนโค บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโดมิเนียม ที่ดิน อสังหาฯ เเละอัพเดท ราคาบ้าน ราคาคอนโด เพื่อให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเห็นภาพที่แท้จริงของตลาด และตัดสินใจได้ถูกต้อง ก่อนใครที่ ZmyHome
บทความอื่นๆ
  • ค้นหาบ้านคอนโด

    ต้องการซื้อ หรือเช่า บ้าน คอนโด ตรวจ สอบราคา เช็คค่าเช่า ติดต่อตรงกับเจ้า ของตัวจริง ทุกทำเล ทั่วประเทศ

    ค้นหา
  • ลงประกาศ

    ต้องการขาย หรือปล่อยเช่า บ้าน คอนโด เพียงคุณเป็นเจ้าของตัวจริง และพร้อมที่จะลงประกาศอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ซื้อศึกษา อย่างสะดวกที่สุด ก็ลงประกาศ ได้เลย

    ลงประกาศ