‘โมโนเรล’ เข้าเมืองทองแน่!
นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ รฟม. ต้องส่งร่างสัญญาให้คณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา ก่อนเสนอร่างสัญญาและผลการเจรจาให้กระทรวงคมนาคม คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดว่าจะลงนามสัญญากับเอกชนในเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ จากนั้นจะขอออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน (พ.ร.ฎ.) และก่อสร้างทันทีในปีนี้ แล้วเสร็จปี 66 คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการ จะช่วยทำให้ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี เพิ่มขึ้น 10% จากเฉลี่ย 1 แสนคนต่อวัน
นายภคพงษ์ กล่าวอีกว่า ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีรัชดาเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว บริเวณใกล้สี่แยกรัชโยธิน ระยะทาง 2.6 กม.นั้น คงต้องทบทวนตัวเลขประมาณการผู้โดยสารที่เดิมอยู่ที่ 9,000 คน ต่อวันใหม่ เนื่องจากบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอส ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว และผู้ถือหุ้นบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (อีบีเอ็ม) ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ให้ข้อมูลว่า การเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและรถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องมีค่าแรกเข้า เนื่องจากเป็นคนละสัญญาและคนละนิติบุคคลกัน ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ค่าใช้จ่ายอาจส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารลดลง ซึ่ง รฟม.จะเร่งสรุปตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้ง
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
เครดิตภาพ : เว็บไซต์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี