สุดสับสน! ชื่อซอย-ถนนที่คล้ายกันในกรุงเทพฯ
เดี๋ยวนี้การมีแอปพลิเคชันต่าง ๆเป็นตัวช่วยในการบอกตำแหน่งแห่งที่ ช่วยลดปัญหาการหลงทางให้เราไปได้เยอะมากครับ ถ้าเป็นเมื่อก่อนกว่าจะบอกทางให้แท็กซี่หรือคนส่งของ คงต้องอธิบายกันยืดยาวกว่าจะเข้าใจ แต่ถึงกระนั้น ในกรุงเทพฯ ก็ยังมีชื่อซอยและถนนที่ชวนให้สับสนอยู่หลายเส้นทางอยู่ดีครับ โดยเฉพาะหากต้องการซื้อบ้านหรือเช่าบ้าน แล้วได้ยินชื่อถนนไม่ชัดหรืออ่านผิด อาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับทำเลไปได้มากมาย วันนี้ ZmyHome เลยอยากรวบรวม ชื่อซอยและถนนที่ชวนเข้าใจผิดในกรุงเทพฯ มาเคลียร์ให้เข้าใจง่าย ๆ กันครับ
ในกลุ่มแรกคือ "ถนนชื่อคล้าย" เริ่มต้นด้วยกลุ่ม "เทพ" ครับ เทพารักษ์ - เทพรักษ์ - เทพรัตน สามถนนนี้ถูกตั้งชื่อไม่พร้อมกันแต่ชื่อคล้ายกันมาจนมีคนสับสนกันเยอะครับ มาดูกันว่าแต่สะถนนอยู่ที่ไหนบ้าง
ถนนเทพารักษ์ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268 สายสำโรง-บางบ่อ เป็นถนนสายสำคัญในจังหวัดสมุทรปราการ ในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองวิ่งผ่านและจอดแวะ 3 สถานีคือ สถานีศรีเทพา สถานีทิพวัล และบรรจบกับรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทที่สถานีสำโรง เป็นถนนคู่ขนานกับ ถนนบางนา-ตราด หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา-หนองไม้แดง ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ถนนเทพรัตน นั่นเองครับ
ส่วน ถนนเทพรักษ์ ไม่ได้อยู่ใกล้กับถนนเทพารักษ์และถนนเทพรัตนแต่อย่างใด ถนนเทพรักษ์ เพิ่งเปิดใช้งานเมื่อปลายปี 2558 อยู่ในท้องที่เขตบางเขนและเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นที่แยกสะพานใหม่ เชื่อมต่อถนนพหลโยธิน ถนนวัชรพล และถนนสุขาภิบาล 5 เข้าด้วยกัน เป็นคู่ขนานกับถนนรามอินทราครับ
กลุ่ม "พฤกษ์" ประกอบด้วย ชัยพฤกษ์ - ราชพฤกษ์ - กัลปพฤกษ์ สามถนนนี้ถูกตั้งชื่อให้สอดคล้องกันเพราะมีความเกี่ยวเนื่องกันครับ คนฝั่งธนฯอาจจะใช้กันบ่อย แต่คนฝั่งกรุงเทพฯข้ามแม่น้ำมาก็อาจจะมีงงกันบ้างครับ
ถนนราชพฤกษ์ หรือ ทางหลวงชนบท นบ.3021 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการถนนต่อเชื่อมสายติวานนท์-เพชรเกษม-รัตนาธิเบศร์ (แนวเหนือ-ใต้) เริ่มต้นที่แยกตากสินไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับปทุมธานี ต่อกับถนนรังสิต-ปทุมธานี เป็นระยะทางยาวกว่า 40 กม. โดยตัดผ่านถนนสายสำคัญมากมาย รวมทั้ง ถนนชัยพฤกษ์ หรือ ทางหลวงชนบท นบ.3030 ที่เริ่มต้นจากห้าแยกปากเกร็ดไปสิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันตก โดยมีสะพานพระราม 4 เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางครับ
ส่วน ถนนกัลปพฤกษ์ หรือ ทางหลวงชนบท กท.1001 เป็นถนนที่แยกออกจากถนนราชพฤกษ์บริเวณทางแยกต่างระดับบางโคลัด ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าวุฒากาศ มุ่งหน้าทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปสิ้่นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก บริเวณทางแยกต่างระดับสวนเลียบ ในอนาคตมีโครงการจะต่อขยายเส้นทางไปจนบรรจบถนนพุทธสาครครับ
กลุ่ม "เจริญ" ที่ยกมาพูดถึงในวันนี้ก็ได้แก่ เจริญกรุง - เจริญราษฎร์ - เจริญนคร - เจริญรัถ ถนนที่ถูกตั้งชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า"เจริญ"ส่วนใหญ่จะมีมานาน ตั้งแต่เริ่มมีการตัดถนนในพื้นที่โดยรอบเกาะรัตนโกสินทร์ จะขออธิบายง่าย ๆ อย่างนี้นะครับ
ถนนเจริญกรุง เป็นถนนสายแรก ๆ ของกรุงเทพฯ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับถนนบำรุงเมือง - ถนนเฟื่องนคร ที่สร้างในยุคเดียวกัน เริ่มตั้งแต่แยกวงเวียน รด. มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระบรมมหาราชวัง วิ่งขนานแนวโค้งแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่แยกถนนตก เป็นที่ตั้งของย่านการค้าสำคัญของคนไทยและชาวต่างชาติมากมาย ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินวิ่งผ่าน 2 สถานีคือ สถานีสามยอด และ สถานีวัดมังกร
และในสมัยรัชกาลที่ 8 อีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำก็ได้มีการสร้างถนนขนานแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นกัน ในท้องที่เขตคลองสาน และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตั้งชื่อล้อกับถนนเจริญกรุงว่า ถนนเจริญนคร และใกล้กับช่วงต้นถนนเจริญนคร มี ถนนเจริญรัถ ที่เชื่อมต่อกับถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีเจริญนคร เป็นแหล่งขายผ้าและวัสดุทำกระเป๋าที่เป็นที่รู้จักกันในแวดวงแฟชั่นมายาวนานครับ
ส่วน ถนนเจริญราษฎร์ ตัดขึ้นเพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนที่อยู่โดยรอบ เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนสาทร และถนนจันทน์ โดยเริ่มต้นจากถนนสาทรใต้ไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 3 เดิมเรียกว่า ถนนเหนือ-ใต้ หรือ ถนนสาทรตัดใหม่ แต่เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับถนนเจริญกรุงและถนนเจริญนครที่อยู่ในแนวขนานกันครับ
กลุ่ม "ประชาราษฎร์" ที่ขอพูดถึงในวันนี้ก็ได้แก่ ถนนประชาราษฎร์ - ถนนประชาราษฎร์สาย 1 - ถนนประชาราษฎร์สาย 2 และ ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ครับ
ถนนประชาราษฎร์ - ถนนประชาราษฎร์สาย 1 - ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันและต่อเนื่องกันทั้งหมดในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ต่อมาภายหลังได้มีการแบ่งถนนประชาราษฎร์ช่วงตั้งแต่ทางแยกเตาปูนถึงทางแยกติวานนท์ออกไปเป็นถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ทำให้ถนนประชาราษฎร์ขาดออกจากกัน จึงได้กำหนดชื่อให้ ถนนประชาราษฎร์ หมายถึงถนนประชาราษฎร์ในเขตท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีเท่านั้น เริ่มจากแยกติวานนท์ไปสิ้นสุดที่ท่าน้ำนนทบุรี
ส่วนถนนประชาราษฎร์ในเขตกรุงเทพฯ ให้เพิ่มคำต่อท้ายว่า สาย 1 และสาย 2 เพื่อลดความสับสน ถนนประชาราษฎร์สาย 1 อยู่ในเขตดุสิต และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร วิ่งขนานแม่น้ำเจ้าพระยาในแนวเหนือ-ใต้ เริ่มต้นจากสะพานพระราม 7 ไปสิ้นสุดที่แยกเกียกกาย ส่วน ถนนประชาราษฎร์สาย 2 จะเริ่มต้นจากถนนประชาราษฎร์สาย 1 มุ่งหน้าทิศตะวันออก ไปบรรจบถนนเตชะวณิชหน้าสำนักงานใหญ่ปูนซิเมนต์ไทย ถนนประชาราษฎร์สาย 2 เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าสำคัญ 2 สถานี คือ สถานีบางโพ และ สถานีเตาปูน ซึ่งเป็น interchange ของสายสีม่วงอีกด้วย ทำให้บริเวณนี้มีการพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยมากมายหลายโครงการ
ส่วน ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทั้ง 3 ถนนด้านบนแต่อย่างใด ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญอยู่ในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงทเพมหานคร เริ่มต้นที่ถนนรัชดาภิเษกบริเวณแยกห้วยขวาง เป็นถนนที่มีซอยย่อยมากมายและเป็นย่านชุมชนพักอาศัยหนาแน่นใจกลางเมือง ปัจจุบันบริเวณนี้ยังคงมีพื้นที่ว่างรอพัฒนาและมีการรื้ออาคารเก่าเพื่อสร้างโครงการใหม่อยู่เรื่อย ๆ ครับ
คราวนี้เรามาพูดถึง "ซื่อซอย-ถนนที่ซ้ำกัน" บ้างดีกว่า ในกรุงเทพฯก็จะมีชื่อซอยหรือถนนสายสำคัญที่อาจยังสับสนกันอยู่หลายที่ครับ
ซอยอารีย์ คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับ ซอยอารีย์ ที่เป็นชื่อของ ซอยพหลโยธิน 8 เป็นหลักครับ เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท สถานีอารีย์ ถือเป็นย่านพักอาศัยระดับหรูใจกลางเมือง ที่มีหน้าตายามกลางวันเป็นแหล่งของกินอร่อยสำหรับหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ และอีกหน้าตายามค่ำคืนเป็นแหล่งแฮงก์เอ้าท์สุดชิคของวัยรุ่น ทำให้ย่านอารีย์นี้ไม่เคยว่างจากโครงการคอนโดใหม่ ๆ จากหลากหลายดีเวลลอปเปอร์ที่ผลัดกันมาสร้างสีสันในพื้นที่อยู่ตลอด
แต่หลายคนอาจจะทราบว่า ในแนวรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท ยังมีอีกหนึ่งซอยที่ใช้ชื่อว่าซอยอารีย์เหมือนกัน แถมยังมีคาแรกเตอร์ร้านค้าที่ชิค ๆ คูล ๆ คล้ายกันเสียด้วย นั่นก็คือ ซอยสุขุมวิท 26 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท สถานีพร้อมพงษ์ เพียง 100 เมตรเท่านั้น ซอยสุขุมวิท 26 เป็นซอยที่ไม่กว้างและไม่มีซอยย่อยมากเท่าซอยพหลโยธิน 8 แต่สามารถทะลุออกถนนพระราม 4 ได้และมีต้นไม้ร่มรื่นตลอดทั้งซอย ทำให้เป็นย่านพักอาศัยที่สะดวกสบายและน่าอยู่มาก แถมยังอยู่ใกล้ย่านช้อปปิ้งอย่างพร้อมพงษ์และทองหล่ออีกด้วยครับ
ถนนราษฎร์พัฒนา หากเป็นคนแถวรามคำแหงก็คงคุ้นเคยกันดีในชื่อ ซอยมิสทีน เพราะว่ามีสำนักงานใหญ่ของเครื่องสำอางยี่ห้อดังตั้งอยู่ปากซอยนะครับ ปากซอยฝั่งถนนรามคำแหงจะอยู่ระหว่างซอย 158 และ 160 เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรที่มีรถวิ่งผ่านกันคับคั่ง เพราะเป็นถนนที่เชื่อมถนนรามคำแหงและถนนเลียบทางด่วนกาญจนาภิเษก มีซอยย่อยและโครงการบ้านพักอาศัยมากมายครับ
ซึ่งถนนราษฎร์พัฒนานี้ ชาวฝั่งธนก็มีเช่นกันกครับ เป็นถนนเส้นสั้น ๆ ขนาด 4 ช่องจราจรที่ยกระดับขึ้นมาจาก ซอยสุขสวัสดิ์ 27 เชื่อมระหว่างถนนสุขสวัสดิ์และถนนราษฎร์บูรณะ ถนนนี้เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะอีกด้วยครับ
ถนนประชาอุทิศ ดูจากชื่อก็น่าจะอนุมานได้ว่า ทุกถนนล้วนมีที่มาจากการตัดผ่านที่ดินของเจ้าขายหลายราย ที่ต่างต้องสละที่ดินกันคนละนิดละหน่อยมารวมกันเพื่อสร้างเป็นถนนสาธารณะครับ ถนนประชาอุทิศที่มีความยาวมาก ก็จะมีบ้านพักอาศัย ร้านค้าอยู่มาก ถนนนั้นก็จะมีคนรู้จักมากตามไปด้วยครับ คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ก็เลยจะรู้จักถนนประชาอุทิศอยู่ 2 ทำเลก็คือ ถนนประชาอุทิศในพื้นที่เขตห้วยขวาง และถนนประชาอุทิศในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ-เขตทุ่งครุ ครับ
ถนนประชาอุทิศในพื้นที่เขตห้วยขวาง เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อถนนสำคัญหลายสาย เช่น ถนนรัชดาภิเษก ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และถนนรามคำแหง เริ่มต้นจากหน้าสำนักงานเขตห้วยขวางไปสิ้นสุดที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมเป็นระยะทางกว่า 5 กม.ครับ ตลอดเส้นทางก็จะเป็นอาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม โรงเรียน และหมู่บ้านต่าง ๆ ครับ
ถนนประชาอุทิศในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ-เขตทุ่งครุ เริ่มต้นจากถนนสุขสวัสดิ์ มุ่งหน้าลงใต้ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ไปสิ้นสุดที่รอยต่อจังหวัดสมุทรปราการ เป็นระยะทางกว่า 9 กม. เป็นถนนที่ตัดเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมดั้งเดิม ถนนสายนี้จึงนำพาความเจริญด้านอสังหาริมทรัพย์เข้าไปในพื้นที่เขตทุ่งครุเป็นอย่างมาก เห็นได้จากมีซอยย่อยมากมาย แทบทุกซอยล้วนมีโครงการจัดสรรให้เลือกมากมายทั้งเก่าและใหม่ จากบริษัทผู้พัฒนาที่ซื้อที่ดินล่วงหน้าไว้รอถนนตัดเข้าไปครับ
นอกจากถนนประชาอุทิศ 2 เส้นที่กล่าวไปแล้วนั้น ยังมี ถนนประชาอุทิศในพื้นที่เขตดอนเมือง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ถนนโกสุมรวมใจ และถนนประชาอุทิศในเขตลาดกระบังอีกด้วยครับ
ถนนรัชดาภิเษก เป็นอีกถนนที่ไม่ว่าไปส่วนใดของกรุงเทพฯก็มักจะขับผ่านป้ายถนนนี้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแถววห้วยขวาง, คลองเตย, พระราม 3 หรือ ท่าพระ ก็มีถนนรัชดาภิเษกเหมือนกัน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นล่ะ?
จริง ๆ แล้ว ถนนรัชดาภิเษกทุกเส้นนั้น ยาวต่อเนื่องเป็นถนนเส้นเดียวกันครับ โดยเป็นถนนที่สร้างขึ้นตามกระแสพระราชดำริในในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนวงแหวนเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ พระราชทานเป็นของขวัญแก่ประชาชน เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ.2514 เริ่มเปิดใช้งานบางส่วนในปี พ.ศ.2519 และมีการสร้างถนนอย่างต่อเนื่องจนเสร็จสมบูรณ์ทั้งเส้นวงแหวนในปี พ.ศ.2536
ถนนวงแหวนรอบในรัชดาภิเษกนั้นมิได้สร้างใหม่ขึ้นทั้งหมด บางช่วงเป็นถนนและซอยที่มีอยู่แต่เดิม ได้แก่ ถนนวงศ์สว่าง, ซอยอโศก-ดินแดง, ถนนอโศกมนตรี, ถนนนางลิ้นจี่ตอนปลาย, ถนนมไหสวรรย์ และถนนจรัญสนิทวงศ์ ภายหลังเมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วถนนบางช่วงใช้ชื่อว่าถนนรัชดาภิเษก แต่บางช่วงยังใช้ชื่อถนนตามเดิม เราจึงเห็นถนนรัชดาภิเษกเป็นท่อน ๆ สลับกับถนนดั้งเดิมไปตลอดเส้นทางครับ
ปิดท้ายด้วย ถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งก็คือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร นั่นเอง เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 168 กม. เริ่มสร้างจาก ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก (บางปะอิน–บางบัวทอง–บางขุนเทียน) ก่อน ตามมาด้วย ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก (บางปะอิน–บางพลี) และ ถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ (บางพลี-สุขสวัสดิ์-บางขุนเทียน) เป็นลำดับสุดท้าย
ถนนกาญจนาภิเษก หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร นี้ ยังมีส่วนที่เป็นทางพิเศษด้านใต้และด้านตะวันออก ที่ต้องเสียค่าผ่านทาง สามารถเชื่อมต่อทางพิเศษอื่น ๆ เพื่อเดินทางเข้าเมืองหรือออกต่างจังหวัดได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นครับ
เป็นยังไงบ้างครับ? สำหรับชื่อซอย-ถนนสุดสับสนในกรุงเทพฯ หวังว่าบทความนี้น่าจะช่วยให้คุณผู้อ่านมีภาพของถนนชื่อโหลเหล่านี้อยู่ในหัวได้ชัดเจนขึ้นนะครับ
จากใจ
ZmyHome
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจด้วยนะครับ
ผู้เขียน : จเร ZmyHome
ในกลุ่มแรกคือ "ถนนชื่อคล้าย" เริ่มต้นด้วยกลุ่ม "เทพ" ครับ เทพารักษ์ - เทพรักษ์ - เทพรัตน สามถนนนี้ถูกตั้งชื่อไม่พร้อมกันแต่ชื่อคล้ายกันมาจนมีคนสับสนกันเยอะครับ มาดูกันว่าแต่สะถนนอยู่ที่ไหนบ้าง
ถนนเทพารักษ์ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268 สายสำโรง-บางบ่อ เป็นถนนสายสำคัญในจังหวัดสมุทรปราการ ในอนาคตจะมีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองวิ่งผ่านและจอดแวะ 3 สถานีคือ สถานีศรีเทพา สถานีทิพวัล และบรรจบกับรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทที่สถานีสำโรง เป็นถนนคู่ขนานกับ ถนนบางนา-ตราด หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา-หนองไม้แดง ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ถนนเทพรัตน นั่นเองครับ
ส่วน ถนนเทพรักษ์ ไม่ได้อยู่ใกล้กับถนนเทพารักษ์และถนนเทพรัตนแต่อย่างใด ถนนเทพรักษ์ เพิ่งเปิดใช้งานเมื่อปลายปี 2558 อยู่ในท้องที่เขตบางเขนและเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นที่แยกสะพานใหม่ เชื่อมต่อถนนพหลโยธิน ถนนวัชรพล และถนนสุขาภิบาล 5 เข้าด้วยกัน เป็นคู่ขนานกับถนนรามอินทราครับ
กลุ่ม "พฤกษ์" ประกอบด้วย ชัยพฤกษ์ - ราชพฤกษ์ - กัลปพฤกษ์ สามถนนนี้ถูกตั้งชื่อให้สอดคล้องกันเพราะมีความเกี่ยวเนื่องกันครับ คนฝั่งธนฯอาจจะใช้กันบ่อย แต่คนฝั่งกรุงเทพฯข้ามแม่น้ำมาก็อาจจะมีงงกันบ้างครับ
ถนนราชพฤกษ์ หรือ ทางหลวงชนบท นบ.3021 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการถนนต่อเชื่อมสายติวานนท์-เพชรเกษม-รัตนาธิเบศร์ (แนวเหนือ-ใต้) เริ่มต้นที่แยกตากสินไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับปทุมธานี ต่อกับถนนรังสิต-ปทุมธานี เป็นระยะทางยาวกว่า 40 กม. โดยตัดผ่านถนนสายสำคัญมากมาย รวมทั้ง ถนนชัยพฤกษ์ หรือ ทางหลวงชนบท นบ.3030 ที่เริ่มต้นจากห้าแยกปากเกร็ดไปสิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันตก โดยมีสะพานพระราม 4 เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางครับ
ส่วน ถนนกัลปพฤกษ์ หรือ ทางหลวงชนบท กท.1001 เป็นถนนที่แยกออกจากถนนราชพฤกษ์บริเวณทางแยกต่างระดับบางโคลัด ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าวุฒากาศ มุ่งหน้าทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปสิ้่นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก บริเวณทางแยกต่างระดับสวนเลียบ ในอนาคตมีโครงการจะต่อขยายเส้นทางไปจนบรรจบถนนพุทธสาครครับ
กลุ่ม "เจริญ" ที่ยกมาพูดถึงในวันนี้ก็ได้แก่ เจริญกรุง - เจริญราษฎร์ - เจริญนคร - เจริญรัถ ถนนที่ถูกตั้งชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า"เจริญ"ส่วนใหญ่จะมีมานาน ตั้งแต่เริ่มมีการตัดถนนในพื้นที่โดยรอบเกาะรัตนโกสินทร์ จะขออธิบายง่าย ๆ อย่างนี้นะครับ
ถนนเจริญกรุง เป็นถนนสายแรก ๆ ของกรุงเทพฯ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับถนนบำรุงเมือง - ถนนเฟื่องนคร ที่สร้างในยุคเดียวกัน เริ่มตั้งแต่แยกวงเวียน รด. มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระบรมมหาราชวัง วิ่งขนานแนวโค้งแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่แยกถนนตก เป็นที่ตั้งของย่านการค้าสำคัญของคนไทยและชาวต่างชาติมากมาย ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินวิ่งผ่าน 2 สถานีคือ สถานีสามยอด และ สถานีวัดมังกร
และในสมัยรัชกาลที่ 8 อีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำก็ได้มีการสร้างถนนขนานแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นกัน ในท้องที่เขตคลองสาน และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ตั้งชื่อล้อกับถนนเจริญกรุงว่า ถนนเจริญนคร และใกล้กับช่วงต้นถนนเจริญนคร มี ถนนเจริญรัถ ที่เชื่อมต่อกับถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีเจริญนคร เป็นแหล่งขายผ้าและวัสดุทำกระเป๋าที่เป็นที่รู้จักกันในแวดวงแฟชั่นมายาวนานครับ
ส่วน ถนนเจริญราษฎร์ ตัดขึ้นเพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนที่อยู่โดยรอบ เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนสาทร และถนนจันทน์ โดยเริ่มต้นจากถนนสาทรใต้ไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 3 เดิมเรียกว่า ถนนเหนือ-ใต้ หรือ ถนนสาทรตัดใหม่ แต่เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับถนนเจริญกรุงและถนนเจริญนครที่อยู่ในแนวขนานกันครับ
กลุ่ม "ประชาราษฎร์" ที่ขอพูดถึงในวันนี้ก็ได้แก่ ถนนประชาราษฎร์ - ถนนประชาราษฎร์สาย 1 - ถนนประชาราษฎร์สาย 2 และ ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ครับ
ถนนประชาราษฎร์ - ถนนประชาราษฎร์สาย 1 - ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันและต่อเนื่องกันทั้งหมดในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ต่อมาภายหลังได้มีการแบ่งถนนประชาราษฎร์ช่วงตั้งแต่ทางแยกเตาปูนถึงทางแยกติวานนท์ออกไปเป็นถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ทำให้ถนนประชาราษฎร์ขาดออกจากกัน จึงได้กำหนดชื่อให้ ถนนประชาราษฎร์ หมายถึงถนนประชาราษฎร์ในเขตท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรีเท่านั้น เริ่มจากแยกติวานนท์ไปสิ้นสุดที่ท่าน้ำนนทบุรี
ส่วนถนนประชาราษฎร์ในเขตกรุงเทพฯ ให้เพิ่มคำต่อท้ายว่า สาย 1 และสาย 2 เพื่อลดความสับสน ถนนประชาราษฎร์สาย 1 อยู่ในเขตดุสิต และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร วิ่งขนานแม่น้ำเจ้าพระยาในแนวเหนือ-ใต้ เริ่มต้นจากสะพานพระราม 7 ไปสิ้นสุดที่แยกเกียกกาย ส่วน ถนนประชาราษฎร์สาย 2 จะเริ่มต้นจากถนนประชาราษฎร์สาย 1 มุ่งหน้าทิศตะวันออก ไปบรรจบถนนเตชะวณิชหน้าสำนักงานใหญ่ปูนซิเมนต์ไทย ถนนประชาราษฎร์สาย 2 เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าสำคัญ 2 สถานี คือ สถานีบางโพ และ สถานีเตาปูน ซึ่งเป็น interchange ของสายสีม่วงอีกด้วย ทำให้บริเวณนี้มีการพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยมากมายหลายโครงการ
ส่วน ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทั้ง 3 ถนนด้านบนแต่อย่างใด ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญอยู่ในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงทเพมหานคร เริ่มต้นที่ถนนรัชดาภิเษกบริเวณแยกห้วยขวาง เป็นถนนที่มีซอยย่อยมากมายและเป็นย่านชุมชนพักอาศัยหนาแน่นใจกลางเมือง ปัจจุบันบริเวณนี้ยังคงมีพื้นที่ว่างรอพัฒนาและมีการรื้ออาคารเก่าเพื่อสร้างโครงการใหม่อยู่เรื่อย ๆ ครับ
คราวนี้เรามาพูดถึง "ซื่อซอย-ถนนที่ซ้ำกัน" บ้างดีกว่า ในกรุงเทพฯก็จะมีชื่อซอยหรือถนนสายสำคัญที่อาจยังสับสนกันอยู่หลายที่ครับ
ซอยอารีย์ คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับ ซอยอารีย์ ที่เป็นชื่อของ ซอยพหลโยธิน 8 เป็นหลักครับ เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท สถานีอารีย์ ถือเป็นย่านพักอาศัยระดับหรูใจกลางเมือง ที่มีหน้าตายามกลางวันเป็นแหล่งของกินอร่อยสำหรับหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ และอีกหน้าตายามค่ำคืนเป็นแหล่งแฮงก์เอ้าท์สุดชิคของวัยรุ่น ทำให้ย่านอารีย์นี้ไม่เคยว่างจากโครงการคอนโดใหม่ ๆ จากหลากหลายดีเวลลอปเปอร์ที่ผลัดกันมาสร้างสีสันในพื้นที่อยู่ตลอด
แต่หลายคนอาจจะทราบว่า ในแนวรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท ยังมีอีกหนึ่งซอยที่ใช้ชื่อว่าซอยอารีย์เหมือนกัน แถมยังมีคาแรกเตอร์ร้านค้าที่ชิค ๆ คูล ๆ คล้ายกันเสียด้วย นั่นก็คือ ซอยสุขุมวิท 26 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท สถานีพร้อมพงษ์ เพียง 100 เมตรเท่านั้น ซอยสุขุมวิท 26 เป็นซอยที่ไม่กว้างและไม่มีซอยย่อยมากเท่าซอยพหลโยธิน 8 แต่สามารถทะลุออกถนนพระราม 4 ได้และมีต้นไม้ร่มรื่นตลอดทั้งซอย ทำให้เป็นย่านพักอาศัยที่สะดวกสบายและน่าอยู่มาก แถมยังอยู่ใกล้ย่านช้อปปิ้งอย่างพร้อมพงษ์และทองหล่ออีกด้วยครับ
ถนนราษฎร์พัฒนา หากเป็นคนแถวรามคำแหงก็คงคุ้นเคยกันดีในชื่อ ซอยมิสทีน เพราะว่ามีสำนักงานใหญ่ของเครื่องสำอางยี่ห้อดังตั้งอยู่ปากซอยนะครับ ปากซอยฝั่งถนนรามคำแหงจะอยู่ระหว่างซอย 158 และ 160 เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรที่มีรถวิ่งผ่านกันคับคั่ง เพราะเป็นถนนที่เชื่อมถนนรามคำแหงและถนนเลียบทางด่วนกาญจนาภิเษก มีซอยย่อยและโครงการบ้านพักอาศัยมากมายครับ
ซึ่งถนนราษฎร์พัฒนานี้ ชาวฝั่งธนก็มีเช่นกันกครับ เป็นถนนเส้นสั้น ๆ ขนาด 4 ช่องจราจรที่ยกระดับขึ้นมาจาก ซอยสุขสวัสดิ์ 27 เชื่อมระหว่างถนนสุขสวัสดิ์และถนนราษฎร์บูรณะ ถนนนี้เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะอีกด้วยครับ
ถนนประชาอุทิศ ดูจากชื่อก็น่าจะอนุมานได้ว่า ทุกถนนล้วนมีที่มาจากการตัดผ่านที่ดินของเจ้าขายหลายราย ที่ต่างต้องสละที่ดินกันคนละนิดละหน่อยมารวมกันเพื่อสร้างเป็นถนนสาธารณะครับ ถนนประชาอุทิศที่มีความยาวมาก ก็จะมีบ้านพักอาศัย ร้านค้าอยู่มาก ถนนนั้นก็จะมีคนรู้จักมากตามไปด้วยครับ คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ก็เลยจะรู้จักถนนประชาอุทิศอยู่ 2 ทำเลก็คือ ถนนประชาอุทิศในพื้นที่เขตห้วยขวาง และถนนประชาอุทิศในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ-เขตทุ่งครุ ครับ
ถนนประชาอุทิศในพื้นที่เขตห้วยขวาง เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อถนนสำคัญหลายสาย เช่น ถนนรัชดาภิเษก ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และถนนรามคำแหง เริ่มต้นจากหน้าสำนักงานเขตห้วยขวางไปสิ้นสุดที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมเป็นระยะทางกว่า 5 กม.ครับ ตลอดเส้นทางก็จะเป็นอาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม โรงเรียน และหมู่บ้านต่าง ๆ ครับ
ถนนประชาอุทิศในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ-เขตทุ่งครุ เริ่มต้นจากถนนสุขสวัสดิ์ มุ่งหน้าลงใต้ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ไปสิ้นสุดที่รอยต่อจังหวัดสมุทรปราการ เป็นระยะทางกว่า 9 กม. เป็นถนนที่ตัดเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมดั้งเดิม ถนนสายนี้จึงนำพาความเจริญด้านอสังหาริมทรัพย์เข้าไปในพื้นที่เขตทุ่งครุเป็นอย่างมาก เห็นได้จากมีซอยย่อยมากมาย แทบทุกซอยล้วนมีโครงการจัดสรรให้เลือกมากมายทั้งเก่าและใหม่ จากบริษัทผู้พัฒนาที่ซื้อที่ดินล่วงหน้าไว้รอถนนตัดเข้าไปครับ
นอกจากถนนประชาอุทิศ 2 เส้นที่กล่าวไปแล้วนั้น ยังมี ถนนประชาอุทิศในพื้นที่เขตดอนเมือง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ถนนโกสุมรวมใจ และถนนประชาอุทิศในเขตลาดกระบังอีกด้วยครับ
ถนนรัชดาภิเษก เป็นอีกถนนที่ไม่ว่าไปส่วนใดของกรุงเทพฯก็มักจะขับผ่านป้ายถนนนี้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแถววห้วยขวาง, คลองเตย, พระราม 3 หรือ ท่าพระ ก็มีถนนรัชดาภิเษกเหมือนกัน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นล่ะ?
จริง ๆ แล้ว ถนนรัชดาภิเษกทุกเส้นนั้น ยาวต่อเนื่องเป็นถนนเส้นเดียวกันครับ โดยเป็นถนนที่สร้างขึ้นตามกระแสพระราชดำริในในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยมีพระราชประสงค์ให้สร้างถนนวงแหวนเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ พระราชทานเป็นของขวัญแก่ประชาชน เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ.2514 เริ่มเปิดใช้งานบางส่วนในปี พ.ศ.2519 และมีการสร้างถนนอย่างต่อเนื่องจนเสร็จสมบูรณ์ทั้งเส้นวงแหวนในปี พ.ศ.2536
ถนนวงแหวนรอบในรัชดาภิเษกนั้นมิได้สร้างใหม่ขึ้นทั้งหมด บางช่วงเป็นถนนและซอยที่มีอยู่แต่เดิม ได้แก่ ถนนวงศ์สว่าง, ซอยอโศก-ดินแดง, ถนนอโศกมนตรี, ถนนนางลิ้นจี่ตอนปลาย, ถนนมไหสวรรย์ และถนนจรัญสนิทวงศ์ ภายหลังเมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วถนนบางช่วงใช้ชื่อว่าถนนรัชดาภิเษก แต่บางช่วงยังใช้ชื่อถนนตามเดิม เราจึงเห็นถนนรัชดาภิเษกเป็นท่อน ๆ สลับกับถนนดั้งเดิมไปตลอดเส้นทางครับ
ปิดท้ายด้วย ถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งก็คือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร นั่นเอง เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 168 กม. เริ่มสร้างจาก ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก (บางปะอิน–บางบัวทอง–บางขุนเทียน) ก่อน ตามมาด้วย ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก (บางปะอิน–บางพลี) และ ถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ (บางพลี-สุขสวัสดิ์-บางขุนเทียน) เป็นลำดับสุดท้าย
ถนนกาญจนาภิเษก หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร นี้ ยังมีส่วนที่เป็นทางพิเศษด้านใต้และด้านตะวันออก ที่ต้องเสียค่าผ่านทาง สามารถเชื่อมต่อทางพิเศษอื่น ๆ เพื่อเดินทางเข้าเมืองหรือออกต่างจังหวัดได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นครับ
เป็นยังไงบ้างครับ? สำหรับชื่อซอย-ถนนสุดสับสนในกรุงเทพฯ หวังว่าบทความนี้น่าจะช่วยให้คุณผู้อ่านมีภาพของถนนชื่อโหลเหล่านี้อยู่ในหัวได้ชัดเจนขึ้นนะครับ
จากใจ
ZmyHome
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจด้วยนะครับ
ผู้เขียน : จเร ZmyHome