Smoke, Heat Detector เตือนก่อนวายวอด
แต่เนื่องจากบางครั้งการแจ้งเตือนอาจเกิดจากความผิดพลาดอื่นที่ไม่ใช่เหตุเพลิงไหม้ (ควันบุหรี่ ควันจากการทำอาหาร) จึงมีการหน่วงเวลาการแจ้งเตือนที่เป็นสัญญาณเสียงที่ตัวเครื่อง และแจ้งเตือนไปที่ห้องควบคุมก่อน เพื่อให้เวลากับเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ ป้องกันความแตกตื่นโดยไม่ได้เกิดเหตุจริง
สำหรับ Heat Detector ก็เช่นกัน เมื่อเครื่องตรวจจับความร้อนได้ก็จะส่งสัญญาณเตือนไปยังห้องควบคุม ที่ไหนใช้ Smoke Detector ที่ไหนใช้ Heat Detector? ความแตกต่างกันก็คือ Smoke Detector ดักจับเหตุเพลิงไหม้โดยใช้ปริมาณควัน แต่ Heat Detector ใช้ความร้อน โดยทั่วไป Heat Detector จะมีความไวในการตรวจจับน้อยกว่า Smoke Detector ตัว Heat Detector จึงมีราคาถูกกว่าเกือบ 2 เท่า กรณีภายในห้องพักในคอนโดซึ่งเราให้ความสำคัญกับชีวิตและทรัพย์สินจึงเลือกใช้ Smoke Detector ส่วน Heat Detector จะใช้ในพื้นที่ที่มีความสำคัญรองลงมา หรือพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้ Smoke Detector ได้ เช่นที่จอดรถ ห้องครัว (เพราะอาจมีควันโดยไม่ได้มีไฟ) เป็นต้น
Smoke และ Heat Detector ขั้นต้น คือคนที่อยู่ในเหตุการณ์ อันที่จริง หากเรามีสติอยู่ในห้องนั้นเราจะรู้ตัวก่อนระดับควันและความร้อนจะสามารถทำให้เจ้าสองเครื่องนี้ทำงาน เพราะฉะนั้นมันเป็นอุปกรณ์ที่คอยเตือนภัยในกรณีที่เราไม่อยู่ หรือไม่มีสติ(เช่นหลับไป) ซึ่งอาจมีหลายกรณีครับที่มันเตือนโดยที่จริงไม่ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ เช่นเมื่อเราทำกับข้าวควันโขมง หรือมีการพ่นสีที่มีฝุ่นผงเยอะในห้องขณะทำเฟอร์นิเจอร์ ฝุ่นและควันพวกนี้อาจทำให้เครื่องทำงานได้
ซึ่งอันที่จริงเราก็เห็นได้ว่ามันมีควันแหละครับ แต่เรารู้ว่าควันพวกนี้ไม่ได้เกิดจากเหตุเพลิงไหม้ ส่วนเครื่องมันไม่รู้ รู้แต่ว่ามีควัน เวลาจะทำกับข้าวควันเยอะๆในคอนโดจึงต้องระวังมันแจ้งเตือนอยู่เหมือนกัน ส่วนเวลาที่ต้องมีการตกแต่งภายในห้อง ก็ควรจะมีอุปกรณ์เป็นฝาพลาสติกมาครอบไว้ชั่วคราว กัน False Alarm อุปกรณ์ยังทำงานอยู่หรือไม่ สังเกตและตรวจสอบได้อย่างไร เราตรวจเองได้หรือไม่? แม้อุปกรณ์ทั้งคู่จะแปะนิ่งๆเชื่องๆดูหน้าตาดีอยู่ที่ฝ้าเพดานอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่ก็ควรได้รับการตรวจสอบการใช้งานอยู่สม่ำเสมอนะครับ
สำหรับคอนโดที่ใช้อุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ สามารถตรวจเช็คได้ง่ายๆ โดยการสังเกตไฟกระพริบที่ตัวเครื่อง ว่ายังกระพริบอยู่หรือไม่ อุปกรณ์พวกนี้ยังสามารถทดสอบว่าเครื่องยังใช้งานได้หรือไม่ด้วยสถานการณ์จริง เช่น ใช้สเปรย์พ่นควัน หรือไดร์เป่าผมทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น เพื่อทดสอบว่าเครื่องยังส่งสัญญาณเตือนหรือไม่ อย่างไรก็ดีต้องทดสอบโดยช่างประจำอาคารนะครับ อย่าทดสอบเอง เพราะจะได้ไม่เกิดการเตือนให้คนอื่นที่ร่วมอาศัยอยู่กับเราต้องตกใจไปกับการทดลอง และที่สำคัญ Heat Detector บางรุ่น ตรวจจับความร้อนได้เพียงครั้งเดียวก็พังไปเลย ต้องเปลี่ยนตัวใหม่ หากมีปัญหาใดกับสองอุปกรณ์นี้ จึงควรแจ้งช่างประจำอาคารครับ