ประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับใหม่ ใครได้-ใครเสียประโยชน์
ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องยกเลิกสัญญาฉบับเก่าที่เคยทำไว้กับผู้เช่าทั้งหมด และทำสัญญาใหม่ ภายใต้ข้อกำหนดใหม่ที่ประกาศ หากไม่ทำตามจะมีโทษทันดี คือ จำคุกไม่กิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับต่อหนึ่งสัญญา
ในประกาศฉบับนี้กำหนดให้ผู้ประกอบการที่มีห้องให้เช่าตั้งแต่ 5 ยูนิตขึ้นไป ไม่ว่าห้องพักนั้นจะเป็นประเภทใด หรืออยู่ที่ใดก็ตาม หากเป็นการให้เช่าอาศัยต้องอยู่ภายใต้กฎของประกาศฉบับนี้ การทำสัญญานั้นต้องมีข้อความภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน และต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบการ ผู้เช่า และทรัพย์สินที่ให้เช่า ให้ครบถ้วนชัดเจน เช่น ชื่อและที่อยู่ผู้ประกอบการ ชื่อที่อยู่ผู้เช่า ที่ตั้งอาคาร สภาพและรายละเอียดของอาคารและทรัพย์สินของอาคาร ระยะเวลาการเช่า อัตราค่าเช่า อัตราค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำประปา อัตราค่าใช้จ่ายในการให้บริการ จำนวนเงินประกัน ผู้ประกอบการต้องส่งใบแจ้งหนี้ให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนถึงวันชำระค่าเช่า และผู้ประกอบการต้องจัดทำหลักฐานการตรวจรับสภาพอาคาร แทบท้ายสัญญา
โดยให้ผู้เช่าเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง ผู้ประกอบการต้องคืนเงินประกันที่ได้รับหลังจากตรวจสอบเรียบร้อยภายใน 7 วัน การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องบอกล่วงหน้าทั้งสองฝ่ายก่อน 30 วัน
ในข้อที่ผู้ประกอบการกังวลมากที่สุด คือ ห้ามเก็บค่าเช่าล่วงหน้าเกินกว่า 1 เดือน และเรียกเก็บเงินประกันเกินกว่า 1 เดือนของอัตราค่าเช่าเมื่อคํานวณเป็นรายเดือน ทั้งค่าสาธารณูปโภคก็ห้ามเรียกเก็บเกินกว่าที่ผู้ให้บริการเรียกเก็บจากผู้ประกอบการ
ประกาศฉบับนี้ผู้ประกอบการต้องรับความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของสิ่งของ และเมื่อเก็บค่าประกันของเสียหายและค่าเช่าล่วงหน้าได้เพียงอย่างละ 1 เดือน โอกาสที่ผู้เช่าจะหนีหายโดยไม่ชำระค่าเช่าสูง แม้ว่าผู้เช่าจะค้างค่าเช่าผู้ประกอบการก็ไม่มีสิทธิ์ยึดสิ่งของ หรือปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้ผู้เช่าเข้าไป ทั้งต้องส่งจดหมายแจ้งเตือนในการกระทำผิดของผู้เช่าก่อน เช่น ค้างชำระ ผิดสัญญา สร้างความรำคาญ และต้องรอฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขับไล่ผู้เช่าเพียงอย่างเดียว ในปัจจุบันที่ธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัยมีอยู่ทุกหย่อมหญ้า การจะแก้ปัญหาด้วยการขึ้นราคาค่าเช่าก็ส่งผลในระยะยาว ทำให้ลูกค้าย้ายไปที่ถูกกว่า ทางผู้ประกอบการเองก็ต้องหาวิธีรับมือกับกฎใหม่ สิ่งสำคัญที่สุดคือการสกรีนผู้เช่าก่อนการทำสัญญาเพื่อจะได้ไม่เจ็บตัวหนัก สำหรับใครที่เป็นผู้เช่าก็คงยิ้มหน้าชื่นเพราะกฎใหม่เข้าทางผู้บริโภคเต็มๆ
By : MissG เรื่องที่เกี่ยวข้อง อ่าน เงินมัดจำการเช่าบ้านในประเทศญี่ปุ่น