ความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดาน ควรมีขนาดเท่าใด
แต่เหมือนกับว่า สิ่งหนึ่งที่เป็นอีกหนึ่งรายละเอียดทั้งที่เป็นโครงสร้างหลัก แต่มักถูกมองข้ามนั่นก็คือความสูง หรือตามคำของกฎหมายอาจจะเรียกว่า “ระยะดิ่ง” นั่นเป็นเพราะว่าในพื้นที่การอยู่อาศัยนั้น ระดับความสูงเป็นสิ่งสำคัญมากในการก่อสร้าง เพื่อไม่ให้ที่พักอาศัยเกิดความอึดอัดแก่ผู้พักอาศัย
ถ้าหากจะอ้างอิงตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ข้อ 22 ระบุว่า ห้องหรือส่วนของอาคารที่ใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องมีระยะดิ่งไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ประเภทการใช้อาคาร | ระยะดิ่ง |
1. ห้องที่ใช้เป็นที่พักอาศัย บ้าน บ้านแถว ห้องพักโรงแรม ห้องเรียนนักเรียนอนุบาล ครัวสำหรับอาคารอยู่อาศัย ห้องพักคนไข้พิเศษ ช่องทางเดินในอาคาร | 2.60 เมตร |
2. ห้องที่ใช้เป็นสำนักงาน ห้องเรียน ห้องอาหาร ห้องโถงภัตตาคาร โรงงาน | 3.00 เมตร |
3. ห้องขายสินค้า ห้องประชุม ห้องคนไข้รวม คลังสินค้า โรงครัว ตลาด | 3.00 เมตร |
4. ห้องแถว ตึกแถว - ชั้นล่าง - ตั้งแต่ชั้นสองขึ้นไป | 3.50 เมตร 3.00 เมตร |
5. ระเบียง | 2.20 เมตร |
ระยะดิ่งให้วัดจากพื้นถึงพื้น โดยวัดที่พื้นผิววัสดุตกแต่ง ขณะที่ห้องหรือส่วนของอาคารที่อยู่ภายในโครงสร้างของหลังคา ให้วัดระยะดิ่งจากพื้นถึงยอดฝาหรือยอดผนังที่ไม่ใช่ส่วนของโครงสร้างของหลังคา โดยสำหรับบ้านพักอาศัยควรมีระยะไม่น้อยกว่า 2.60 เมตร แต่สำหรับอาคารสาธารณะ เช่น โรงเรียน ร้านอาหาร จะกำหนดให้มีระยะไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร
ทั้งนี้ ระดับความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดาน (Floor to Ceiling) จึงต้องมีระยะดิ่งตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ระยะดิ่งส่วนมากจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2.40-3.60 เมตร เพื่อให้ทุกคนสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างปลอดภัยจากความสูงที่มากพอ
ขณะเดียวกัน หากบ้านใดมีพื้นที่ที่เป็นดับเบิลสเปซ (Double Space) หรือมีชั้นลอยก็ควรมีพื้นที่ว่างเชื่อมต่อการใช้งาน 2 โซนในแนวดิ่ง เช่น โถงบ้านสูงตั้งแต่ 2 ชั้น ความสูงทั่วไปของพื้นที่ดังกล่าวก็ควรจะอยู่ในระดับ 5-6 เมตรเป็นอย่างน้อย เพื่อสร้างประโยชน์ใช้สอยที่ดีในการอยู่อาศัยด้วย
จากใจ
ZmyHome
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยครับ