MAN HOLE คืออะไร? ทำไมจึงต้องมีไว้รอบบ้าน?
ศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษอีกคำที่ใกล้เคียงกัน นั่นคือคำว่า Hand hole ซึ่งถ้าเข้าใจคำว่า Man hole แล้ว จะเข้าใจ Hand hole ได้ไม่ยาก Hand hole ก็คือ บ่อพักขนาดเล็ก ที่คนอาจจะลงไปไม่ได้ แต่สามารถเอื้อมมือลงไปจัดการได้ ซึ่งในศัทพ์ก่อสร้างของไทย จะใช้คำรวบว่าบ่อพักไป แล้วแยกกันว่าเป็นบ่อพักขนาดเล็กใหญ่เท่าไหร่ก็พอ
ทีนี้มาพูดถึงความจำเป็นที่ต้องมีบ่อพัก โดยจะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ ที่พบเห็นบ่อพักได้ทั่วไป เช่น ระบบระบายน้ำทิ้งในบ้าน โดยปกติแล้วหากท่อระบายน้ำทิ้งรอบบ้านเป็นระบบปิด คือเป็นท่อฝังอยู่ใต้ดิน ก็ย่อมมีโอกาสที่ท่อจะตัน ไม่ว่าจะจากสิ่งสกปรกที่ทิ้งลงมาในท่อ หรือท่ออาจแตกหักระหว่างทาง จนดินไหลหรือรากไม้ชอนไชเข้ามาอุดตันล้วนเป็นไปได้ทั้งสิ้น
ถ้าเกิดเหตุแล้ว วิธีการแก้ไขก็ตรงไปตรงมาที่ง่ายที่สุด ก็คือการกวาดเศษขยะและกำจัดสิ่งที่อุดตันออกไป แต่หากท่อมีขนาดยาวหรือหักมุมไปมา การทะลวงท่อให้กลับมาไหลราบรื่นดังเก่าย่อมทำได้ยาก ฉะนั้นหากจะดูแลรักษาท่อหลังการก่อสร้างได้ง่าย ก็จำเป็นต้องมีช่องบ่อพักไว้ทุกครั้งที่ท่อมีการหักมุม หรือทุกระยะที่ท่อยาวถึงระดับหนึ่ง อย่างเช่น บ่อพักระบบท่อระบายน้ำตามบ้าน แนะนำให้มีในทุกจุดที่ท่อหักมุมมากกว่า 90 องศา และทุกระยะ 4-8 เมตร ก็ควรจะมีไว้ด้วยเช่นกัน แม้จะเป็นแนวตรงต่อเนื่องกันก็ตาม เพราะตัวเลข 4-8 เมตร เป็นตัวเลขของขนาดความยาวท่อที่มีขายโดยทั่วไป ทำให้ท่อที่พาดระหว่างบ่อพักจะไม่จำเป็นต้องต่อ (ซึ่งเสี่ยงต่อการแตกหัก รั่ว หรือรากไม้ชอนไช) และก็เป็นระยะที่พอจะมีอุปกรณ์ใดๆ สามารถล้วงทำความสะอาดท่อได้
บ่อพักยังมีหน้าที่รวบรวมตะกอนที่ไหล ไม่ให้ไหลรวมไปกองอยู่ภายในท่อมากเกินไป เพราะเมื่อระดับก้นบ่อพักที่ต่ำกว่าระดับท่อ ทำให้บ่อพักสะสมตะกอนไว้ตามระยะ เราสามารถตักออกจากตัวบ่อพักไปโดยตรง จะซึ่งช่วยเรื่องความสะดวกในการระบายน้ำได้อีกแรง
อันที่จริงในระดับเมือง ก็มีบ่อพักแบบนี้เช่นกัน ทุกท่านที่เคยเดินฟุตบาทเมืองไทย คงเคยเห็นฝาท่อระบายน้ำตามฟุตบาท ซึ่งถ้าจะเรียกให้ถูก ก็ต้องเรียกว่าฝาบ่อพักท่อระบายน้ำ และเมื่อหน่วยงานราชการจัดการขุดลอกท่อ ซึ่งก็คือการส่งคนลงทำความสะอาดที่บริเวณ Man hole นั่นเอง
จากใจ
ZmyHome
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจด้วยนะครับ